เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ภาวะการติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนถึงตอนนี้มีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว หลังหายจากโรคดีแล้วซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานานถึง 28 วันหรือมากกว่าหลังจากที่พบเชื้อ บางคนพบว่ามีอาการผิดปกติที่บางครั้งไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร แต่แน่นอนว่าทำให้เกิดความกังวลและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย ซึ่งถ้าเกิดภาวะเหล่านั้นขึ้นแล้วอาจต้องมีการสืบหาโรคว่าจริง ๆ แล้วเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่ของการติดเชื้อโควิด-19 หรือเป็นโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งในการสืบหาโรคอาจต้องอาศัยอาการแสดงและสืบหาโรคจากอาการที่เป็นอยู่ แนะนำให้ตรวจเช็กสุขภาพอย่างละเอียดตามระดับอาการผิดปกติคงค้างที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี
โดยแบ่งออกเป็น 2 โปรแกรม ได้แก่
1. ชุดเช็กความพร้อมร่างกายหลังหายจากโควิด-19 (Post COVID-19 Essential Check Up)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเพียงเล็กน้อยไม่ถึงกับส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแต่มีอาการผิดปกติที่ไม่สามารถอธิบายได้ และยังคงต้องมีการสืบหาว่ายังมีการอักเสบหลงเหลืออยู่ในร่างกายหรือไม่ มีการตรวจเช็กในระบบที่สำคัญ เช่น ภาวะการสร้างและทำลายลิ่มเลือด การทำงานของปอด ตับและไต รวมไปถึงการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ และตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันและการต้านทานต่อเชื้อ โควิด-19
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count (CBC)
ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม Hemoglobin A1c (HbA1c)
ปริมาณยูเรียในเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไต Blood Urea Nitrogen (BUN)
ค่าครีเอตินีนเพื่อประเมินการทำงานของไตและอัตราการกรองของไต (Creatinine plus GFR)
เอนไซม์ตับเพื่อประเมินการทำงานของตับ Liver Function Test (SGPT or ALT)
โปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบ C-Reactive Protein (CRP)
การแข็งตัวและการสลายตัวของลิ่มเลือด (D – Dimer)
ตรวจปัสสาวะอย่างสมบูรณ์ (Urine Examination)
การประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น (PHQ-9)
ภาพฉายรังสีทรวงอก (Chest X-ray)
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
ตรวจร่างกายโดยแพทย์และรับคำแนะนำ
2. ชุดเช็กความพร้อมร่างกายเชิงลึกหลังหายจากโควิด-19 (Post COVID-19 Advanced Check Up)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติที่ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันหรือทำกิจวัตรประจำวันได้หรือมีอาการทั้ง ๆ ที่อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำงานหรือออกแรง การตรวจร่างกายอย่างละเอียดถี่ถ้วนรวมถึงการส่งตรวจที่ลงรายละเอียดอย่างเฉพาะเจาะจง ไปถึงเรื่องการทำงานของเนื้อปอดที่เหลืออยู่ และการทำงานของหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจอย่างละเอียดสามารถสืบหาโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count (CBC)
ขบวนการแข็งตัวของเลือด Prothrombin Time (PT)
ขบวนการแข็งตัวของเลือด Partial Thromboplastin Time (PTT)
ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม Hemoglobin A1c (HbA1c)
ปริมาณยูเรียในเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไต Blood Urea Nitrogen (BUN)
ค่าครีเอตินีนเพื่อประเมินการทำงานของไตและอัตราการกรองของไต (Creatinine plus GFR)
เอนไซม์ตับเพื่อประเมินการทำงานของตับ (SGPT or ALT)
เอนไซม์ตับเพื่อประเมินการทำงานของตับ (SGOT or AST)
เอนไซม์เพื่อประเมินการทำงานของตับ (Alkaline phosphatase หรือ ALP)
โปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบ C-Reactive Protein (CRP)
โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของกล้ามเนื้อหัวใจที่มีความจำเพาะต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ (Troponin I – high sensitivity)
การแข็งตัวและการสลายตัวของลิ่มเลือด (D – Dimer)
ตรวจปัสสาวะอย่างสมบูรณ์ (Urine Examination)
ระดับภูมิต้านทานต่อเชื้อ SAR-CoV-2 (COVID-19 Spike Protein IgG Quantitative Antibody)
ภูมิต้านทานต่อเชื้อ SAR-CoV-2 และความสามารถในการจัดการเชื้อโรคของภูมิ (COVID-19 S Protein RBD Neutralizing Antibody)
การประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น (PHQ-9)
ภาพฉายรังสีทรวงอก (Chest X-ray)
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง Echocardiography (ECHO)
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความละเอียดสูงเพื่อดูเนื้อปอดอย่างละเอียด (Chest – HRCT)
ตรวจร่างกายโดยแพทย์และรับคำแนะนำ
ผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 ควรดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เพราะระบบต่าง ๆ ในร่างกายต้องการการฟื้นฟู ควรหมั่นตรวจเช็กสุขภาพ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้กลับมาในเร็ววัน
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: COVID-19 ใส่ใจตรวจเช็กสุขภาพหลังหายจากโควิด-19 อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/covid-19