เชื่อเลยว่า หลาย ๆ คน คงเคยเจอปัญหา เสียงรบกวน ที่เล็ดลอดจากเพื่อนบ้าน ที่บ้านติดกัน หรือใช้ผนังร่วมกัน ทั้งเสียงที่รบรบกวน จากเพื่อนบ้าน หรือเพื่อนบ้านได้ยินเสียงรบกวนจากบ้านของเรา จะป้องกันเสียงรบกวนเหล่านี้อย่างไร
ประเภทของฉนวนกันเสียง
ฉนวนใยแก้วความหนาแน่นต่ำ ผลิตจากใยแก้วเส้นสั้น ขึ้นรูปด้วย binder ทำให้ฉนวนมีรูปร่างตามที่ต้องการ ราคาไม่แพง ไม่ติดไฟ หาซื้อง่าย ช่วยแก้ปัญหาเสียงดัง แบบไม่รุนแรง
ฉนวนใยแก้วความหนาแน่นต่ำ ยังไม่มีผลิตในประเทศไทย หากต้องการ จะต้องนำเข้าจากต่างประเศเท่านั้น ช่วยแก้ปัญหาเสียงดังแบบรุ่นแรง เช่น ในโรงงาน ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ และทนต่ออุณหภูมิที่สูงมาก
ฉนวนใยหิน มักใช้สำหรับงานบางประเภท เช่น ผนังตู้คอนเทนเนอร์ ห้องเครื่องยนต์เรือขนส่งสินค้า กล่องครอบลดเสียงดัง สำหรับมอเตอร์ หรือปั๊มน้ำ เป็นต้น สามารถใช้กันเสียงแบบชั่วคราว หรือกันเสียงที่ไม่ดังมากนัก ราคาไม่แพง หาซื้อง่าย
ฉนวนยางสังเคราะห์ ผลิตจากยางสังเคราะห์ ข้อดี คือ กันน้ำ กันฝุ่น ไม่เป็นเชื้อรา
แผ่นซับเสียง ผลิตจากขี้เลื่อย หรือวัสดุสังเคราะห์ นิยมนำมากรุผิวหน้า เพื่อป้องกันเสียงสะท้อน ส่วนใหญ่จะใช้ในห้องประชุม โรงแรม ข้อดี คือ มีสีมันให้เลือกหลากหลาย ป้องกันเสียงสะท้อนได้ดี มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย
ประโยชน์ของฉนวนกันเสียง
ปรับระดับเสียงให้พอดี การเลือกใช้วัสดุกันเสียงรบกวนติดตั้งตามผนังในห้องที่มีการใช้เสียงดัง เช่น ห้องประชุม ห้องนั่งเล่น จะช่วยตกแต่ง และปรับระดับเสียงให้อยู่ในระดับพอดี เมื่อเสียงไม่ดังเกินไป ก็ทำให้ทุกคนสามารถพูดคุยได้ง่ายมากขึ้น
สร้างพื้นที่ส่วนตัว บ้าน หรือห้องพักที่ผนังติดกับเพื่อนบ้าน คงต้องการความเป็นส่วนตัว การใช้วัสดุกันเสียง จะช่วยกันเสียงจากภายในห้องไม่ให้ออกไปข้างนอก รวมทั้งกันเสียงข้างนอกเข้ามาข้างในด้วย ทำให้สามารถสร้างพื้นที่ และบรรยากาศส่วนตัว ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
ลดเสียงสะท้อน ห้องที่มีขนาดใหญ่ และเพดานสูง มักประสบปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อน การใช้วัสดุกันเสียง ฉนวนกันเสียง จะช่วยลดเสียงเหล่านี้ได้
เพิ่มคุณภาพเสียง สำหรับบ้านที่ต้องการสร้างโฮมเธียเตอร์ ควรเลือกติดตั้งวัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทโฟมอะคูสติกไว้ภายในห้องนั้น เพื่อกันเสียงรบกวนจากภานนอก รวมทั้งปรับสภาพเสียงในการรับชมภาพยนตร์ที่ดีที่สุด นอกจากนี้ ยังเหมาะแก่การติดตั้งในห้องอัดเสียง ห้องสมุด และห้องประชุม อีกด้วย
ลดมลพิษทางเสียง วัสดุกันเสียงรบกวนจะช่วยกันเสียงไม่พึงประสงค์จากสภาพแวดล้อมภายนอกออกไป ซึ่งช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อประสาทการได้ยิน ทำให้คุณไม่ต้องเสี่ยงฟังเสียงที่ดังมากเกินไปได้ อีกทั้งยังลดปัญหาการนอนหลับ ความเครียด ความจำ อันอาจเกิดจากเสียงรบกวนต่าง ๆ ได้
วิธีติดตั้งฉนวนกันเสียง ทำได้อย่างไร?
วัดพื้นที่ บริเวณที่ต้องการติดตั้งฉนวนเสียง คำนวณหาจำนวนของแผ่นฉนวนที่ต้องใช้
ทำความสะอาดพื้นที่บริเวณที่จะติดตั้ง โดยขจัดฝุ่น และคราบน้ำมันที่ติดอยู่ออกให้หมด
เตรียมฉนวนกันเสียง โดยทากาวบริเวณด้านหลังของแผ่น ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที
ทากาวที่ผนัง ให้ทั่วบริเวณที่จะติดตั้ง ทิ้งไว้หมาด ๆ ประมาณ 5-10 นาที
นำแผ่นฉนวนกันเสียงที่ทากาวแล้ว มาติดตั้งเข้ากับผนังที่เตรียมไว้ จนเต็มพื้นที่ผนัง
ตรวจสอบความเรียบร้อย พร้อมเก็บรายละเอียดของงาน เสร็จเรียบร้อย
ป้องกันเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้าน ได้อย่างไร?
สำหรับทาวน์โฮม ตึกแถว หรือคอนโด ที่ต้องใช้ผนังร่วมกับเพื่อนบ้าน วิธีป้องกัน และลดเสียงรบกวน คือ
- ป้องกันเสียงรบกวนลอดตามรอยต่อปลั๊กไฟบนผนังที่ใช้ร่วมกัน หากปลั๊กไฟของเรากับเพื่อนบ้านอยู่ตรงกัน ให้ย้ายปลั๊กไฟของเราไปไว้ตำแหน่งอื่นแทน
- ป้องกันเสียงรบกวนลดเสียงลอดผ่านช่องว่างผนังเหนือฝ้าเพดาน หากเปิดฝ้าเพดาน แล้วพบว่า มีช่องว่างดังกล่าว ให้ก่ออิฐ หรือใช้ผนังเบาปิดช่องว่างระหว่างผนังกับใต้ท้องคานให้เรียบร้อย
- ป้องกันเสียงรบกวนจากการปิดประตูหน้าต่างแรง ๆ หรือเปิดเพลงเสียงดัง ควรเจรจาขอความร่วมมือกับเพื่อนบ้านเท่าที่ทำได้ ในส่วนของบ้านเรานั้นอาจทำการ ซีลขอบยาง ประตู-หน้าต่าง ให้แนบสนิท เพื่อช่วยลดแรงกระแทก เวลาเปิด-ปิด ไม่ให้ไปรบกวนเพื่อนบ้าน
- ป้องกันเสียงรบกวนด้วยการเพิ่มค่าการกันเสียงของผนัง คือ ขณะเสียงเดินทางผ่านอากาศ หากมีวัสดุมากั้น เสียงที่ทะลุผ่านวัสดุไปจะเบาลง เช่น ผนังอิฐอาจก่อซ้อนเพิ่มอีกชั้น หรือทำผนังโครงเบาติดทับ โดยสามารถนำวัสดุที่มีค่า STC สูง อย่างฉนวนกันเสียง มาซ่อนในโครงผนังเบา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียงได้ด้วย จะใช้วางเหนือฝ้าเพดาน เพื่อป้องกันเสียงจากเพดานก็ได้ สามารถช่วยลดทั้งเสียงรบกวนที่เดินทางผ่านอากาศ และลดแรงสั่นสะเทือน ที่ผ่านโครงสร้าง จึงเหมาะในการป้องกันเสียงรบกวนผ่านผนัง ที่ต้องใช้ร่วมกับเพื่อนบ้าน
วิธีติดตั้ง “ฉนวนกันเสียง” ในห้องส่วนตัวด้วยตัวเองที่บ้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/