“เมาค้าง” หรือ “แฮงค์” คือปฏิกิริยาที่ร่างกายต่อต้านแอลกอฮอล์ หลังจากที่คุณดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป หากคุณกำลังมองหา วิธีแก้เมาเหล้า เร่งด่วน อยู่ ข่าวดีคือวันนี้ได้รวบรวมรายละเอียดที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ มาให้คุณได้เตรียมรับมือกับอาการขาดน้ำ ปวดหัว หงุดหงิด ฯลฯ เรียบร้อยแล้ว มีอะไรบ้างไปดูกันเลย !
บอกต่อ 5 วิธีแก้เมาเหล้า เร่งด่วน
หากคุณเผลอดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป คุณห้ามขับรถเด็ดขาดอาจทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุแล้วยังทำให้คุณไม่ได้ไปวันนัดสำคัญอีกด้วย และหากคุณกำลังมองหา “วิธีแก้แฮงค์” ฉบับเร่งด่วน เราได้รวบรวมมาให้คุณทั้งหมด 5 วิธี ไปดูกัน !
เหตุผลที่คุณรู้สึกสุขภาพไม่ดีเมื่อเมาค้าง
1. ทานอาหารอ่อน ๆ
เคยสงสัยไหมว่า ? ทำไมสายดื่มส่วนใหญ่มักไปจบที่ร้านข้าวต้มโต้รุ่งทุกครั้ง เป็นเพราะว่า “อาหารอ่อน” นับเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ช่วยกระตุ้นร่างกายให้ย่อยง่าย พร้อมรับสารอาหารใหม่ ๆ เข้าไปเติมเต็มในร่างกาย หรือพูดง่าย ๆ ว่าเข้าไป “เจือจางแอลกอฮอล์” และชะล้างสารพิษต่าง ๆ ออกมานั่นเอง
2. ดื่มน้ำผลไม้รสเปรี้ยว
สำหรับสายดื่มที่เวลาเมามาก ๆ แล้วรู้สึกพะอืดพะอม ส่วนใหญ่มักเลือกดื่มเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เพื่อ “แก้แฮงค์” กรณีที่ไม่ได้คลื่นไส้หรือเวียนหัวมาก จะช่วยแก้อาการพะอืดพะอมได้ง่ายและรวดเร็วทันใจ
3. ออกกำลังกายเบา ๆ
การออกกำลังกายเบา ๆ จะช่วยขับแอลกอฮอล์ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการวิดพื้น วิ่ง หรืออื่น ๆ เพื่อให้ร่างกายได้เหงื่อ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกระบวนการขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย ช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น
4. ดื่มเกลือแร่
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลให้ร่างกายของคุณ “ขาดน้ำ” ดังนั้นหากคุณเป็นสายปาร์ตี้อยู่แล้ว แนะนำให้พกเกลือแร่ไปด้วยทุกครั้ง เพราะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ช่วยฟื้นฟูอาการขาดน้ำได้ดี แถมยังช่วยแก้แฮงค์ และทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย
5. พักผ่อนให้มาก ๆ
หากทำทุกวิธีแล้วไม่ดีขึ้น หรือพูดง่าย ๆ ว่า “ร่างกายสู้ต่อไม่ไหว” ทางออกที่ดีที่สุดคือ “การนอน” แนะนำให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว แถมยังเป็นหนึ่งในวิธีแก้แฮงค์ที่ง่ายมาก ๆ อีกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็น 5 วิธีแก้แฮงค์ง่าย ๆ ด้วยอาการและเครื่องดื่มรอบตัว รวมถึงการขยับร่างกายของคุณให้ได้เหงื่อเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะช่วยให้คุณตื่นตัวและหายแฮงค์ได้เร็วยิ่งขึ้น กรณีที่จำเป็นจะต้องขับรถแนะนำให้ “สร่างสนิท” ก่อน ไม่อย่างนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุและเสี่ยงที่คุณอาจจะเจอด่านตำรวจตรวจแอลกอฮอล์ได้
“อาการเมาค้าง” เกิดจากอะไร !?
เชื่อว่าหลายคนยังคงติดใจและสงสัยว่า “อาการเมาค้าง” หรือที่นิยมเรียกกันว่า “แฮงค์” แท้จริงแล้วเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ เพราะเคยสังเกตตัวเองหลังจากดื่มแอลกอฮอล์แล้วพบว่า ตื่นเช้ามามีอาการเมาค้างชวนทรมานทุกครั้ง ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นเพราะร่างกายขับของเสียในรูปแบบของปัสสาวะ ที่ขับสารอาหารสำคัญ ๆ ออกมาด้วย เช่น วิตามินบี, แมกนีเซียม และโพแทสเซียม
โดยการขับของเสียดังกล่าวทำให้เกิด “การคั่ง” ของสารแอลดีไฮด์ ซึ่งมีผลต่อการลดปริมาณน้ำตาลในเลือด และรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนิน จึงไม่แปลกใจเลยว่าทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมาหลังจากกลับจากปาร์ตี้ ทำไมถึงเกิดอาการปวดศีรษะตามมาด้วยทุกครั้ง
เหตุผลที่คุณรู้สึกสุขภาพไม่ดีเมื่อเมาค้าง
หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า “แอลกอฮอล์” เป็นสารกดประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้กล้ามเนื้อรู้สึกผ่อนคลายเมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป แต่เมื่อดื่มในปริมาณที่มากเกินพอดี ร่างกายจะทำทุกวิถีทางเพื่อ “ขจัด” แอลกอฮอล์ออกไป สำหรับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ “ตับ” รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายอีกด้วย โดยเฉพาะ “สมอง” ที่มีหน้าที่ในการดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าไป เพื่อกระจายไปทั่วทุกส่วนของสมอง ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมองส่วนต่าง ๆ
สมองส่วนหน้า
เมื่อสมองส่วนหน้าถูกทำลายโดยฤทธิ์แอลกอฮอล์ จะส่งผลให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ หรือที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในคำพูดที่ว่า “เมาจนขาดสติ” ทำให้การตัดสินใจช้าลงหรือตัดสินใจผิดพลาด หากสมองส่วนนี้ถูกทำลายไปเรื่อย ๆ จะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไป จากที่เคยเข้าสังคมได้ นานวันไปจะยิ่งรู้สึกว่าตัวเองผิดปกติในการเข้าสังคม
สมองส่วนความจำ
เมื่อแอลกอฮอล์เข้าไปทำลายสมองส่วนความจำ จะส่งผลให้หลายคน “เมาจนร้องไห้” หากโดนทำลายไปเรื่อย ๆ ในอนาคตจะทำให้เป็นโรคความจำเสื่อม หรือในกรณีที่ “เมาแล้วจำอะไรไม่ได้เลย” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลกระทบจากการที่สมองส่วนความจำถูกทำลาย
ก้านสมอง
“ก้านสมอง” ของคนเรา ทำหน้าที่ในการควบคุมการส่งข้อมูล เปรียบเสมือน “ศูนย์บัญชาการของร่างกาย” เมื่อร่างกายได้รับปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป จะส่งผลให้การรับรู้และการตอบสนองต่าง ๆ ลดลง
ยาแก้เมาเหล้า: วิธีแก้เมาเหล้า เร่งด่วน แก้แฮงค์ฉบับด่วนจี๋ที่สายดื่มต้องรู้กันหน่อย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/