ผู้เขียน หัวข้อ: โรคมะเร็ง คืออะไร?  (อ่าน 190 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 375
    • ดูรายละเอียด
โรคมะเร็ง คืออะไร?
« เมื่อ: 05 กันยายน 2024, 18:21:10 pm »
โรคมะเร็ง คืออะไร?

มะเร็ง (Cancer) หรือเนื้องอกร้าย (Malignant tumors) คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม ทำให้เกิดเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวและเจริญเติบโตอย่างไร้ขอบเขตและไร้การควบคุม เซลล์ร้ายพัฒนากลายเป็นก้อนมะเร็งที่รบกวนการทำงานของเซลล์ปกติในอวัยวะ และแพร่กระจายลุกลามผ่านทางระบบเลือด และระบบทางเดินน้ำเหลืองไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ตับ ลำไส้ เต้านม หรือต่อมน้ำเหลือง มะเร็งแตกต่างตามตำแหน่งของอวัยวะที่เป็นจุดกำเนิดของโรคและชนิดของเซลล์มะเร็ง

เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้อย่างไร?

โดยทั่วไป ร่างกายมนุษย์จะผลิตเซลล์ตามธรรมชาติ โดยเซลล์จะเจริญเติบโต เกิดการแบ่งตัว และทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามอวัยวะส่วนนั้นของร่างกาย การทำงานของของเซลล์จะถูกกำหนดหน้าที่โดยสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) แต่เมื่อใดก็ตามที่เซลล์เกิดการกลายพันธุ์ภายในโครงสร้างของดีเอ็นเอ เซลล์จะเกิดการแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้และพัฒนาต่อไปกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ก่อนที่จะค่อย ๆ ขยายขนาดเป็นก้อนมะเร็งในอวัยวะต้นกำเนิด โดยเซลล์มะเร็งเหล่านี้สามารถเล็ดลอดจากกระบวนการกำจัดเซลล์ร้ายตามธรรมชาติและดำรงอยู่ในร่างกายแก่อนที่จะลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ และขัดขวางกระบวนการทำงานในร่างกาย ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา


กลุ่มของโรคมะเร็ง

มะเร็งถูกจำแนกด้วยชนิดของเซลล์มะเร็ง จุดกำเนิด การเจริญเติบโต ระยะของมะเร็ง และการตอบสนองต่อการรักษา มะเร็งที่มีจุดกำเนิดที่อวัยวะหนึ่ง แม้ลุกลามไปสู่อวัยวะอื่น มะเร็งก็จะยังคงคุณสมบัติเดิมของจุดกำเนิดของเซลล์มะเร็งชนิดนั้น เช่น มะเร็งที่มีจุดกำเนิดที่ตับ แม้ต่อมาแพร่กระจายไปยังลำไส้ ก็จะยังคงเป็นมะเร็งตับ โดยการรักษาจะยึดการรักษามะเร็งตับเป็นหลัก โดยทั่วไปมะเร็งสามารถจำแนกออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามอวัยวะที่เป็นจุดกำเนิดของเซลล์มะเร็ง ได้ดังนี้

    มะเร็งเยื่อบุ (Carcinoma)
    มะเร็งชนิดนี้จะพัฒนาขึ้นที่เซลล์เยื่อบุทั้งด้านในและด้านนอกของพื้นผิวร่างกาย มะเร็งประเภทนี้เป็นมะเร็งประเภทที่พบได้บ่อย และถูกเรียกตามชื่ออวัยวะต้นกำเนิด
        มะเร็งชนิดต่อม (Adenocarcinoma) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในต่อมหรือเยื่อบุที่ผลิตเมือกหรือของเหลว มะเร็งประเภทนี้พบได้บ่อยในมะเร็งเต้านม ต่อมลูกหมาก ปอด และลำไส้ใหญ่
        มะเร็งผิวหนัง (Basal cell carcinoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่เกิดที่บริเวณฐานของหนังกำพร้าที่อยู่ด้านบนสุด
        มะเร็งผิวหนังชนิดสความัสเซลล์ (Squamous cell carcinomas) หรือ ชนิดอิพิเดอร์มอยด์ (Epidermoid carcinomas) พัฒนาขึ้นในเซลล์สความัสใต้หนังกำพร้าหรือในเยื่อบุปอด ช่องปาก ลำคอ และ หลอดอาหาร
        มะเร็งชนิด Transitional cell carcinoma (TCC) พบในเนื้อเยื่อบุชนิดแบ่งชั้นหรือเยื่อบุด้านในทางเดินปัสสาวะ เช่น กรวยไต ท่อไต และ กระเพาะปัสสาวะ

    มะเร็งซาร์โคมา (Sarcoma)
    มะเร็งชนิดนี้มีจุดกำเนิดมาจากกระดูก ไขมัน กล้ามเนื้อ ท่อน้ำเหลือง หลอดเลือด เอ็น และเส้นเอ็น มะเร็งกระดูกที่พบมากที่สุดคือ มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma)

    มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
    มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีจุดกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ผลิตเลือดในไขกระดูก ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่พบเป็นก้อนเนื้องอก เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติจะแบ่งตัวเร็วกว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติ ดังนั้นร่างกายจึงไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ ไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค และทำการหยุดเลือดได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถจําแนกออกได้หลายประเภท เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน (Acute leukemia) มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง (Chronic leukemia) มะเร็งเม็ดเลือดขาวจากต่อมน้ำเหลือง (Lymphoblastic leukemia) มะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีลอยด์ (Myeloid leukemia) โดยแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับการดําเนินของโรค และชนิดของเม็ดเลือดขาวต้นกำเนิด

    มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
    เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมไฟไซท์ (Lymphocyte) เช่น ทีเซลล์และบีเซลล์ ทำงานผิดปกติและเริ่มก่อตัวในท่อน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง และอวัยวะอื่น ๆ นั่นอาจแสดงว่าผู้ป่วยอาจจะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

    มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
        มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin lymphoma) เกิดจากเซลล์ Reed-Sternberg ที่ผิดปกติซึ่งกลายพันธุ์มาจากบีเซลล์
        มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin lymphoma) มีต้นกำเนิดในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมไฟไซท์และกลายพันธุ์มาจากทีเซลล์หรือบีเซลล์

    เนื้องอกชนิดอื่น ๆ
        มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma)
        เมลาโนไซต์เป็นเซลล์พิเศษที่ผลิตเมลานินหรือเม็ดสี มะเร็งผิวหนังเมลาโนมามีต้นกำเนิดจากเซลล์เมลาโนไซต์ ดังนั้นจึงพบมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้ที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อที่สร้างสี เช่น ดวงตา
        เนื้องอกในสมองและไขสันหลัง (Brain and spinal cord tumors)
        ชื่อของเนื้องอกในสมองและไขสันหลังจะเรียกตามอวัยวะต้นกำเนิดและชนิดของเซลล์ ตัวอย่างเช่น เซลล์แอสโทรไซต์ (astrocytes) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเนื้องอกแอสโทรไซต์
        เนื้องอกเซลล์สืบพันธุ์ชนิดเจิมเซลล์ (Germ cell)
        เนื้องอกเซลล์สืบพันธุ์มีต้นกำเนิดจากเซลล์สืบพันธุ์ สามารถพบได้ทั่วร่างกาย โดยอาจเป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งหรือชนิดที่เป็นมะเร็งก็ได้
        เนื้องอกเน็ต (Neuroendocrine Tumors)
        เป็นเนื้องอกที่เป็นได้ทั้งชนิดที่เป็นมะเร็งหรือชนิดที่ไม่เป็นมะเร็ง มีต้นกำเนิดจากเซลล์ที่หลั่งฮอร์โมนเมื่อถูกกระตุ้นจากระบบเส้นประสาท เนื้องอกชนิดนี้ผลิตฮอร์โมนในระดับที่สูงกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดอาการไม่ปกติหลากหลายรูปแบบ  เนื้องอกคาร์ซินอยด์  (Carcinoid tumor) เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งภายใต้กลุ่มนี้ มีการเติบโตช้ามักพบในระบบทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่เกิดในลำไส้เล็กหรือทวารหนัก อาจแพร่กระจายไปตับหรือส่วนอื่นของร่างกายได้ กลุ่มอาการที่เรียกว่า คาร์ซินอยด์ เกิดจากการหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) หรือสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) มากเกินไป


สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน แพทย์จะยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งได้ว่ามาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียวหรือมาจากหลากหลายสาเหตุ การตระหนักและตื่นตัวต่อปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งสามารถจำแนกได้จากปัจจัยภายนอก เช่น ควันบุหรี่ มลพิษทางอากาศ PM2.5 หรือสารก่อมะเร็ง และจากปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม ดังนี้
ปัจจัยภายนอก ได้แก่

    บุหรี่ และการสูดดมควันบุหรี่มือสอง เป็นปัจจัยหลักที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงตามมา ผู้ที่สูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่มือสองเป็นประจำมีแนวโน้มสูงที่จะตรวจพบมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร หรือมะเร็งปากมดลูก
    สารเคมี เช่น เบนซิน (Benzene) แร่ใยหิน (Asbestos) แคดเมียม (Cadmium) นิกเกิล (Nickle) พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride) ยาฆ่าแมลง (Pesticides)
    สิ่งแวดล้อม การสัมผัสกับสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น 5 ก๊าซเรดอน (Radon) ยูเรเนียม (Uranium) ไอเสียจากดีเซล หรือผลิตภัณฑ์จากถ่านหิน
    เชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น ไวรัสเอชไอวี (HIV) ไวรัสแอชพีวี (HPV virus) ไวรัสตับอักเสบบีและซี (Hepatitis B & C virus)
    รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในแสงแดดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังได้
    มีประวัติเคยผ่านการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งมาก่อน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งไทรอยด์
    แอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ มะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้
    การรับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป พบความสัมพันธ์ในการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื่อบุมดลูกจากการได้รับการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป
    สารก่อมะเร็งในอาหาร เช่น อาหารปิ้ง ย่าง หรือทอดที่ไหม้เกรียม สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา สารไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) เช่น สารไนโตรซามีน (Nitrosamines) ที่มีอยู่ในอาหารหมักดอง
    การับประทานอาหารไขมันสูง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร


ปัจจัยภายใน ได้แก่

    มีประวัติบุคคลในครอบครัวเดียวกันป่วยด้วยโรคมะเร็ง โดยมะเร็งชนิดนี้เกิดจากความผิดปกติของยีน หรือสารพันธุกรรม
    อายุที่เพิ่มขึ้น วัยที่เพิ่มมากขึ้นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้


สัญญาณและอาการของโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งหลายชนิดไม่มีอาการแสดงในระยะแรกเริ่ม และมะเร็งบางชนิดอยู่ในอวัยวะที่ตรวจพบได้ยาก หรือถูกบดบังโดยอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย จนเมื่อเซลล์มะเร็งได้ลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ สัญญาณและอาการของมะเร็งจึงจะแสดงออกอย่างชัดเจน โดยสัญญาณและอาการของโรคมะเร็งที่ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ได้แก่

    มีเลือดออกผิดปกติในบริเวณต่าง ๆ เช่น ทวารหนัก ปากมดลูก
    ภาวะกลืนอาหารลำบาก รู้สึกเสียดท้องบ่อย
    เป็นไข้เรื้อรัง
    ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะลำบาก
    อุจจาระเป็นสีดำหรือมีเลือดปน อุจจาระลำบาก
    ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด เสียงแหบแห้ง
    ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูก
    แผลหายช้า หรือเป็นแผลเรื้อรัง
    คลำได้ก้อนที่คอ เต้านม หรือตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
    ไฝ หูด หรือปานบนร่างกายขยายขนาดใหญ่ขึ้น คัน หรือมีเลือดออก
    น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
    ตกขาวผิดปกติ มีเลือดออกทางช่องคลอด


มะเร็งมีกี่ระยะ?

ระยะของมะเร็ง พิจารณาจากปัจจัยหลายปัจจัย รวมถึงขนาด ตำแหน่ง และการลุกลามของเซลล์มะเร็ง โดยมะเร็งแต่ละชนิดจะแบ่งระยะแตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน แต่หลักการโดยทั่วไป จะแบ่งได้ดังนี้

    ระยะที่ 1: มะเร็งจำกัดอยู่ในบริเวณเล็ก ๆ และยังไม่ลุกลามแพร่กระจาย
    ระยะที่ 2: มะเร็งเติบโตภายในอวัยวะแต่ไม่ลุกลามแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ
    ระยะที่ 3: มะเร็งมีขนาดโตขึ้น และอาจลุกลามแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ
    ระยะที่ 4: มะเร็งลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะ หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่ไกลออกไป


การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง

การตรวจสอบวินิฉัยมะเร็งสามารถกระทำได้โดยจากตรวจเนื้อเยื่อ (Pathology diagnosis) ซึ่งชิ้นเนื้อดังกล่าวจะถูกตรวจสอบโดยพยาธิแพทย์ (Pathologist) เพื่อยืนยันการพบของเซลล์มะเร็ง ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าเป็นมะเร็งจะต้องได้รับการยืนยันโรคจากผลตรวจเอกซเรย์ หรือ CT scan (Computed tomography) ที่จะทำให้เห็นตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติของเซลล์ในร่างกายได้อย่างแม่นยำ กว่าการทำเอกซเรย์ทั่วไป

หลังจากนั้น แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อ ซึ่งมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับตำแหน่งก้อนที่ผิดปกติและต้องสงสัย เช่น ถ้าพบก้อนที่ผิดปกติบริเวณเต้านม แพทย์อาจพิจารณาใช้เข็มขนาดเล็กตัดชิ้นเนื้อ (Core needle biopsy) แทงไปยังตำแหน่งก้อนที่ผิดปกติ แล้วเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อมาตรวจสอบ ถ้าพบก้อนผิดปกติที่บริเวณปอด แพทย์จะทำการส่องกล้องตรวจภายในบริเวณหลอดลม (Bronchoscopy) โดยการสอดท่อขนาดเล็กลงไปเพื่อตรวจดูบริเวณเนื้อเยื้อที่ผิดปกติของทางเดินหายใจรวมถึงปอด โดยหากพบก้อนที่ต้องสงสัยว่าเป็นมะเร็ง แพทย์อาจพิจารณาตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy) ที่ต้องสงสัยมาตรวจสอบ โดยอาจกระทำร่วมกับการทำ CT scan เพื่อให้การระบุตำแหน่งของก้อนมีความแม่นยำ

ในบางกรณี แพทย์สามารถตรวจหาเซลล์มะเร็งได้จากสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ  (Sputum cytology) น้ำในช่องท้อง (Ascites fluid cytology) น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural fluid cytology) ซึ่งในบางครั้งสามารถบอกที่มาและชนิดของเซลล์มะเร็งได้

การวินิจฉัยชนิดของมะเร็งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมเฉพาะบุคคลมากที่สุด

ในปัจจุบัน การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor makers) เช่น  CEA, CA153, AFP ซึ่งเป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้นโดยการเจาะเลือด ยังเป็นวิธีการที่ไม่สามารถทดแทนการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งร่วมกับวิธีการตรวจหามะเร็งวิธีการอื่นจะช่วยให้การวินิจฉัยโรคมีความแม่นยำสูง


วิธีการรักษาโรคมะเร็ง

การรักษามะเร็งสามารถกระทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ประเภท ระยะของการดำเนินโรค และความต้องการเฉพาะบุคคล ดังนี้

    การผ่าตัด (Surgery)
    การผ่าตัดเป็นทางเลือกหลักสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะแรกเริ่ม โดยสามารถรักษาให้หายขาดได้ ในบางกรณี อาจใช้การฉายแสงหรือใช้เคมีบำบัดควบคู่ เพื่อลดขนาดเซลล์มะเร็งก่อนการผ่าตัด
    การบำบัดด้วยรังสี (Radiotherapy)
    ใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นสูงเพื่อลดขนาดเนื้องอกผ่านการฆ่าเซลล์มะเร็ง วิธีนี้มักใช้ร่วมกับเคมีบำบัดในช่วงการผ่าตัด การรักษาด้วยรังสีอาจเป็นทางเลือกหลักในการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในระยะลุกลาม
    การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
    การให้ยาเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผ่านการกินหรือฉีดเข้าเส้นเลือดนอกจากนี้เคมีบำบัดยังสามารถใช้บรรเทาอาการปวดจากก้อนมะเร็ง
    การรักษามะเร็งด้วยยาแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy)
    การรักษาด้วยยาแบบกำหนดเป้าหมายจะเน้นการทำให้เซลล์มะเร็งตาย โดยการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติโดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ โดยแพทย์จะทำการตรวจวิธีการกลายพันธุ์ของยีนก่อน
    การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
    อาศัยหลักการใช้ภูมิคุ้มกันเพื่อจัดการกับเซลล์มะเร็งในร่างกายผ่านการฉีดยาเพื่อเข้าไปขัดขวางกระบวนการผลิตโปรตีนที่เซลล์มะเร็งใช้ในการป้องกันไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันโจมตี
    การรักษาแบบผสมผสานและการจัดการกับความเจ็บปวด (Palliative care and pain management)
    เป็นรูปแบบการดูแลประคับประคองให้ผู้ป่วย มีสุขภาพจิตที่แข็งแรงหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งและเข้ารับการรักษา จากงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งสามารถมีอายุกว่าถึง 3 เดือนหากได้รับกำลังใจที่ดีจากคนรอบข้าง


การตรวจคัดกรองมะเร็งสำคัญอย่างไร?

มะเร็งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบในระยะแรกเริ่ม แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งได้ว่ามาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือหลายสาเหตุก็ตาม มะเร็งในระยะลุกลามจะทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบรวมถึงอวัยวะข้างเคียงและอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ไกลออกไป จนทำให้อวัยวะเหล่านั้นไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีกต่อไป ผู้ป่วยมะเร็งในระยะลุกลามจึงมักเสียชีวิตในท้ายที่สุด

แพทย์จึงแนะนำหนึ่งในวิธีการป้องกันมะเร็งที่ดีที่สุด โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง มีอาการต้องสงสัย หรือมีสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งร้าย โดยการวินิจฉัยและรับการรักษามะเร็งอย่างถูกต้องและเป็นระบบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google